โควิด-19

เกาหลีใต้ยกเลิก กักตัว 7 วัน ผู้ป่วยโควิด-19 เดือน มิ.ย. นี้

โควิด-19 หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกิดจากไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดินทางหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) ซึ่งเริ่มปรากฏในเดือนธันวาคม 2562 ที่นครอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน จากนั้นได้มีการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ไปทั่วโลกในเวลาต่อมา โดยมีการเรียกชื่อโรคติดเชื้อชนิดนี้ว่า ‘โควิด-19’

อาการของโรคโควิด-19 

อาการทั่วไปของโรคโควิด-19 พี่พบมากที่สุดคือ ไข้ ไอ ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น และอ่อนเพลีย อาการที่พบน้อยกว่าแต่อาจมีผลต่อผู้ป่วยบางรายคือ ปวดเมื่อย ปวดหัว คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ท้องเสีย ตาแดง หรือผื่นตามผิวหนัง หรือสีผิวเปลี่ยนตามนิ้วมือนิ้วเท้า อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อยๆเริ่มทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง

ผู้ป่วยส่วนมาก (80%) หายป่วยได้โดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีอาการหนักและหายใจลำบาก ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือมะเร็งมีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยรุนแรงกว่า อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถติดโรคโควิด 19 ได้และอาจป่วยรุนแรง คนทุกเพศทุกวัยที่มีอาการไข้ และ/หรือไอร่วมกับอาการหายใจลำบาก/ติดขัด เจ็บหน้าอก เสียงหาย หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากเป็นไปได้ แนะนำให้โทรไปล่วงหน้า เพื่อสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ

รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ปรับลดระดับสถานการณ์เตือนภัยโควิด-19 ภายในประเทศ และประกาศว่าผู้ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวไม่จำเป็นต้องกักตัวเป็นเวลา 7 วัน ตามมาตรการภาคบังคับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป นับเป็นการผ่อนคลายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกครั้งหนึ่งของเกาหลีใต้

ประธานาธิบดียุน ซอกยอลของเกาหลีใต้ ได้ปรับลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์เตือนภัยโควิด-19 จากระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดมาเป็นระดับ 3 ระหว่างการประชุมกับคณะรัฐบาลและบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งได้รับการถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์สู่สาธารณะ พร้อมเสริมว่า ตนมีความยินดีที่ผู้คนจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเวลา 3 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา

นอกจากนี้ทางการเกาหลีใต้จะยกเลิกข้อบังคับที่กำหนดให้ประชาชนทุกคนสวมหน้ากากอนามัยในสถานพยาบาลและเภสัชกรรมด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ยุนกล่าวว่า รัฐบาลจะยังคงจัดสรรเงินสนับสนุนสำหรับการตรวจหาเชื้อและการรักษาโรคโควิด-19 ต่อไปอีกสักพัก แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีใต้จะยกเลิกมาตรการกักตัวดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังคงแนะนำให้ผู้ที่ติดเชื้อทำการกักตัวด้วยตัวเองต่อเป็นเวลา 5 วัน

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวนี้ของรัฐบาลเกาหลีใต้สอดคล้องกับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศยุติสถานการณ์ฉุกเฉินโควิดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ใช้มาตรการดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2020

โควิด-19

โควิด-19 ที่เราสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการแพร่เชื้อได้ด้วยการทำตามข้อควรระวังดังนี้

  • ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาดด้วยแอลกอฮอลเจลหรือด้วยน้ำและสบู่ เพราะการทำความสะอาดมือด้วยสองวิธีนี้เป็นการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่บนมือเรา
  • รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตร จากผู้อื่น เพราะเมื่อคนไอ จาม หรือ พูด จะทำให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็กจากจมูกและลำคอซึ่งอาจมีเชื้อโรคได้ ถ้าอยู่ใกล้เกินไปก็จะหายใจเอาละอองเหล่านั้นเข้าไปด้วยซึ่งมีเชื้อโรคปนอยู่ ในกรณีที่คนนั้นไม่สบาย
  • สวมหน้ากากหากไม่สามารถรักษาระยะห่างได้
  • เลี่ยงการไปพื้นที่หนาแน่นหรือการระบายอากาศไม่ดี เพราะเมื่อคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าใกล้ผู้ป่วยโควิด 19 และเมื่อคนหนาแน่นก็จะรักษาระยะห่าง 1 เมตรได้ยาก
  • เลี่ยงการเอามือมาจับตา จมูกและปาก เพราะมือไปสัมผัสอะไรมาหลายอย่างและอาจไปสัมผัสเชื้อโรคมาด้วย เมื่อมือปนเปื้อนก็จะส่งต่อเชื้อโรคไปยังตา จมูกและปาก จากนั้นเชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายและทำให้เราป่วย
  • ทั้งตัวเราเองและคนรอบข้างควรมีสุขลักษณะที่ดีเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งหมายความว่า ต้องปิดปากทุกครั้งที่ไอหรือจามด้วยข้อพับแขนด้านในหรือด้วยกระดาษทิชชู จากนั้นทิ้งกระดาษทิชชูทันทีและล้างมือ เพราะละอองแพร่เชื้อได้ การมีมารยาทในการไอ/จามที่ดี เราก็ป้องกันคนรอบตัวจากเชื้อโรคอื่น ๆ ด้วยเช่น หวัด ไข้หวัดและโรคโควิด 19
  • อยู่บ้านและแยกตัวเองถึงแม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไอ ปวดศีรษะ ไข้ จนกว่าจะหายดี ให้ใครมาส่งเสบียงและสิ่งของจำเป็น แต่หากต้องออกจากบ้านใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เพราะการเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นเป็นการป้องกันผู้อื่นจากเชื้อโควิด 19 และเชื้อโรคอื่นๆ
  • หากมีอาการไข้ และ/หรือไอร่วมกับอาการหายใจลำบาก/ติดขัด ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากเป็นไปได้ แนะนำให้โทรไปล่วงหน้า เพื่อสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ เพราะหน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นมีข้อมูลของสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ของท่าน การโทรไปแจ้งล่วงหน้าจะทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถแนะนำท่านให้ไปยังหน่วยบริการทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันตัวท่านเองและป้องการการแพร่กระจายของไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆด้วย
  • ติดตามข่าวสารจ้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานสาธารณสุข เพราะทางการและท้องถิ่นจะให้ข้อมูลได้ดีที่สุดว่าคนในพื้นที่ควรจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันตนเอง

โควิด-19 ที่ทั่วโลกยังคงเผชิญอยู่ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2019 และยังคงไม่หายไปจากโลกนี้ ซึ่งการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำและให้ความร่วมมือ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งหรือเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงลดการแพร่กระจายเชื้อทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ’s)

อาการของการติดเชื้อโควิค-19 เป็นอย่างไร ?

  • เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ และความรุนแรงของอาการก็อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ติดเชื้อแต่ละบุคคล ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักพบอาการเหล่านี้ คือ ไอ เจ็บคอ เป็นไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย และหายใจหอบเหนื่อย

วิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ?

  • การตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) มี 2 วิธี ดังนี้
    1. Rapid test หรือ Antigen test kit (ATK)การตรวจคัดกรองเพื่อหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ชุดทดสอบคือ Antigen test kit (ATK) เป็นชุดทดสอบสำหรับตรวจหาแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไวรัสในสารคัดหลั่งทางโพรงจมูกหรือน้ำลาย เป็นวิธีการตรวจที่ทราบผลได้รวดเร็ว ราคาชุดตรวจไม่แพงเกินไป สามารถหาซื้อได้ง่าย วิธีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก แต่มีความแม่นยำ (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) น้อยกว่าวิธี RT-PCR วิธีนี้จึงมักใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการป่วยและสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 หากตรวจในตอนที่เพิ่งได้รับเชื้ออาจจะแสดงผลเป็นลบเนื่องจากยังไม่มีปริมาณเชื้อมากพอที่จะตรวจได้ หากเคยติดเชื้อหรือได้รับวัคซีนจนมีภูมิคุ้มกันที่สามารถทำลายเชื้อได้ก็อาจให้ผลการทดสอบเป็นลบเช่นกัน
    2. RT-PCR (Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction)วิธี RT-PCR เป็นวิธีการตรวจยืนยันเพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีความแม่นยำ (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) สูง ใช้สิ่งส่งตรวจจากสารคัดหลั่งบริเวณ Nasopharyngeal และมีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนจึงต้องทำการทดสอบโดยบุคลากรทางการแพทย์ โดยวิธีการทดสอบจะใช้เอนไซม์ Reverse Transcriptase เปลี่ยน RNA ของไวรัส SARS-CoV-2 ให้เป็น DNA จากนั้นทำการคัดลอกชิ้นส่วน DNA เพื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสให้มีปริมาณมากพอที่จะตรวจวิเคราะห์ได้ จึงทำให้วิธีนี้สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสได้แม้จะปริมาณน้อยมาก สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการได้รับเชื้อ และยังสามารถตรวจพบซากเชื้อในระหว่างที่อาการเริ่มดีขึ้นหรือไม่มีอาการแล้วได้อีกด้วย

ขณะนี้มียารักษาโควิด 19 โดยเฉพาะหรือไม่ ?

  • ขณะที่ยาแผนปัจจุบัน แผนโบราณและการรักษาตามบ้านหลายตำรับอาจทำให้สบายขึ้นและบรรเทาอาการได้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง แต่ก็ยังไม่มียาป้องกันหรือรักษาโควิด 19 โดยเฉพาะ องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ทานยาเองซึ่งรวมถึงยาปฏิชีวนะต่างๆไม่ว่าจะกินเพื่อป้องกันหรือเพื่อรักษา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการทดลองทางคลิกนิกเพื่อทดลองยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณหลายสูตร องค์การอนามัยโลกอยู่ระหว่างการประสานความพยายามต่างๆที่จะพัฒนายารักษาโควิด 19 นี้ และจะมาให้ข้อมูลข่าวสารเมื่อมีผลของการวิจัยออกมา

ที่มา
https://www.msn.com/th-th/news/world/

https://www.winmed.com/th/updates/knowledge-base/covid-19-knowledge/

https://www.pexels.com/th-th/photo/373290/

https://www.pexels.com/th-th/photo/5995157/

 

ติดตามอ่านเรื่องราวรอบโลกได้ที่  ikehika.com